วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

ใบงาน เรื่อง บทบาทของเทคโนโลยี

 Printer     

      เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลดาวเทียมมีด้วยกันหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้กัน คือ เครื่องพิมพ์ชนิด Laser เครื่องพิมพ์ชนิด Ink Jet ซึ่งให้ความละเอียดในการพิมพ์สูงกว่า และพิมพ์ได้รวดเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ชนิด Dot matrix ส่งเสริมในด้านการศึกษา ด้านการงาน มีความทันสมัย ภาพคมชัด งานดี


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ printer
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง










                          Printer




                   













                       Flashforge 3D Printer


ที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/326680
         http://www.lazada.co.th/epson-l360-all-in-one-ink-tank-printer-noinkblack-11020251.html?spm=a2o4l.category-020803020000.0.0.R3JXFF&ff=1&sc=Ecol
         http://www.print3dd.com/product/flashforge-finder/

วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560

โครงงานคอมพิวเตอร์ 
     หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ 


ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
     คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ

     1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
     2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
     3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
     4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
     5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)



ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์

ประเภทโครงงาน: สื่อเพื่อการศึกษา

ชื่อเรื่องโครงงาน: สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน


       สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,670 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นลาดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการอาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อไทยเสียดินแดนปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาในปี พ.ศ. 2505 ต่อมาในปีพ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพ อาเซียนได้ถือกาเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธารงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทาให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกาลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ


อ้างอิง: https://sites.google.com/site/comproject64bestfriends/tawxyang-khorng-ngan-khxmphiwtexr

วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ผลสำรวจชี้ เด็ก 77% เลือกใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าการดูทีวี

ผลสำรวจชี้ เด็ก 77% เลือกใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าการดูทีวี


TotallyAwesome เผยผลการศึกษาพบว่า การใช้โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมมากในหมู่เด็กๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประกอบกับการที่เด็กๆ มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในการตัดสินใจซื้อสินค้าของพ่อแม่ การลงโฆษณาสินค้าเด็กในโลกอินเตอร์เน็ตจึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับแบรนด์สินค้าต่างๆ ที่จะสร้างความนิยมจากเด็กได้อย่างมหาศาล รายงานข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดสำหรับเด็กในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกฉบับล่าสุดของ TotallyAwesome ปี 2016-2017 เปิดเผยว่าการใช้แพลตฟอร์มแบบบูรณาการ (integrated cross-platform) คือวิธีที่ดีที่สุดในการเข้าถึงและดึงดูดความสนใจเด็กในภูมิภาคนี้

“ในขณะที่การบริโภคสื่อออนไลน์และสื่อจากโทรศัพท์มือถือของเด็กใน APAC มีอัตราพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเรามองลึกลงไปถึงการบริโภคสื่อของเด็กในแต่ละกลุ่มอายุ ตลอดจนความสำคัญของการใช้งานแบบหลายหน้าจอ (multiple screens) ทำให้เราสามารถเข้าใจถึงวิธีการทางการตลาดและสามารถขับเคลื่อนแคมเปญที่สอดคล้องและมีประสิทธิภาพ” Quan Nguyen ซีอีโอ ของบริษัท TotallyAwesome กล่าว
จากการสำรวจพบว่าเด็กส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเข้าถึงสมาร์ทโฟนได้มากกว่าโทรทัศน์ จากการเก็บข้อมูลในประเทศ 7 ประเทศของภูมิภาคนี้ 5 ใน 7 ประเทศ พบว่า 95% ของครอบครัวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีสมาร์ทโฟนใช้ที่บ้าน
สมาร์ทโฟนและทีวีเป็นอุปกรณ์ยอดนิยมสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน 58% ของเด็กในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟนและใช้สมาร์ทโฟนหลายครั้งต่อวันเช่นเดียวกันกับการดูทีวี นอกจากนี้ 44% ของเด็กสามารถเข้าถึงแท็บเล็ต ก็มีการใช้งานแท็บเล็ตหลายครั้งต่อวัน
ความนิยมในการใช้สื่อดิจิตอลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่เด็ก ๆ ในภูมิภาคนี้ หากต้องเลือกระหว่างอินเตอร์เน็ตกับทีวี 77% จะเลือกใช้อินเตอร์เน็ต โดยการเลือกที่จะใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าช่องทางอื่นๆ นั้นมีการเติบโตขึ้นในทุกปี โดยในปี 2016 เติบโตขึ้น 11% จากปี 2015 ที่มีการเลือกที่จะใช้อินเตอร์เน็ตอยู่ที่ 66%
การเข้าถึงของอินเตอร์เน็ตมีสูงกว่าทีวีในกลุ่มเด็กในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จากการสำรวจสอบถามบรรดาผู้ปกครอง สรุปได้ว่าเด็กใช้เวลาเฉลี่ยในการใช้อินเตอร์เน็ตในวันปกติที่ต้องไปโรงเรียนประมาณ 2 ชั่วโมง 54 นาที มากกว่าการใช้เวลาในการดูทีวีถึง 24 นาที
เด็กใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์ในแต่ละวันเพิ่มขึ้นอย่างมากตามอายุของเด็ก โดยเด็กอายุ 12-14 ปี ใช้เวลาในโลกออนไลน์ประมาณ 3-5 ชั่วโมงในวันธรรมดา และเกือบ 4-5 ชั่วโมงในช่วงสุดสัปดาห์ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเด็กอายุ 6-8 ปี ที่อยู่ในโลกออนไลน์วันละ 2.5-3 ชั่วโมงต่อวัน โฆษณาออนไลน์จึงมีความสำคัญมากต่อเด็กๆ โดยเป็นประตูให้เด็กที่อยู่ในประเทศกลุ่ม APAC ที่มีอายุมากขึ้นได้ค้นพบกับ content ใหม่ๆ ที่พวกเขาสนใจ
เด็กอายุ 12-14 ปี พบของเล่นใหม่ๆ ที่มีการโฆษณาทางออนไลน์มากถึง 24% เมื่อเทียบกับเด็กวัย 6-8 ปี ที่ค้นพบของเล่นใหม่ผ่านการโฆษณาออนไลน์ที่ 17%
จากการศึกษายังพบว่าเด็กในภูมิภาคนี้มีความสามารถในการโน้มน้าวและมีอิทธิพลต่อพ่อแม่ในการพาไปซื้อสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเห็นจากโฆษณาออนไลน์ กว่าครึ่งของบรรดาผู้ปกครองกล่าวว่าได้ซื้อสินค้าที่เด็กต้องการหลังจากที่เด็กเพิ่งได้เห็นสินค้าทางออนไลน์
โฆษณาทางทีวีและโฆษณาดิจิตอลกระตุ้นให้เกิดการรบเร้าจากเด็กโดยตรงต่อผู้ปกครองของตนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้พวกเขาค้นหาข้อมูลมากขึ้นและจุดประกายบทสนทนากับผู้ปกครองเกี่ยวกับ ตัวผลิตภัณฑ์และสิ่งที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น วิธีใช้แพลตฟอร์มแบบหลายแพลตฟอร์มจึงเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนการค้นพบตัวสินค้าในหมู่เด็กๆ และเป็นการสร้างธุรกิจให้มีการเติบโตได้ดี
“ข้อมูลของเราทำให้บริษัทต่างๆสามารถกำหนดกลยุทธ์และสร้างแคมเปญทางการตลาดให้น่าสนใจโดยใช้วิธีการโฆษณาแบบหลากหลายอุปกรณ์ (multi-screen) โดยบูรณาการระหว่างการใช้ทีวีและดิจิตอลให้มีการประสานไปด้วยกัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและดึงดูดให้เด็กได้เข้ามามีส่วนร่วมใน touchpoints ต่างๆ” ซีอีโอของ Totally Awesome กล่าว
นอกจากนี้เขายังเสริมอีกว่า “ในฐานะที่ Totally Awesome เป็นแพลตฟอร์มชั้นนำในการทำให้เกิดการเข้าถึงและมีส่วนร่วมในโลกดิจิตอลสำหรับเด็กและครอบครัวที่ใหญ่และมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Totally Awesome จึงยินดีเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ที่ต้องการใช้ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้เพื่อบรรลุเป้าหมายที่มีประสิทธิผลกับตลาดเป้าหมายของตน”

แหล่งที่มา: http://campus.sanook.com/1385029/

ไม่เห็นด้วย เพราะว่า อินเตอร์เน็ตทำให้ดึงดูดความสนใจกับเด็กๆ และก็กลายเป็นสิ่งเสพติดของเด็ก ทำให้เด็กไม่สนใจอย่างอื่น เพราะสนใจแต่อินเตอร์เน็ต

วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 1 เรื่อง ภาษาซี

หมายถึง

ภาษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์(AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร(scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์
ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก


โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี


โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซีแบ่งออกเป็น 3 ส่วน


1. ส่วนหัวของโปรแกรม

ส่วนหัวของโปรแกรมนี้เรียกว่า Preprocessing Directive ใช้ระบุเพื่อบอกให้คอมไพเลอร์กระทำการ ใด ๆ ก่อนการแปลผลโปรแกรม ในที่นี่คำสั่ง #include <stdio.h> ใช้บอกกับคอมไพเลอร์ให้นำเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุ คือ stdio.h เข้าร่วมในการแปลโปรแกรมด้วย โดยการกำหนด preprocessing directives นี้จะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ
คำสั่งที่ใช้ระบุให้คอมไพเลอร์นำเฮดเดอร์ไฟล์เข้าร่วมในการแปลโปรแกรม สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ
- #include <ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุจากไดเรกทอรีที่ใช้สำหรับเก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ (ปกติคือไดเรกทอรีชื่อ include)
- #include “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์” คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟที่ระบุ จากไดเร็คทอรีเดียวกันกับไฟล์ source code นั้น แต้ถ้าไม่พบก็จะไปค้นหาไดเร็คทอรีที่ใช้เก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ

2. ส่วนของฟังก์ชั่นหลัก

ฟังก์ชั่นหลักของภาษาซี คือ ฟังก์ชั่น main() ซึ่งโปรแกรมภาษาซีทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชั่นนี้อยู่ในโปรแกรมเสมอ จะเห็นได้จากชื่อฟังก์ชั่นคือ main แปลว่า “หลัก” ดังนั้น การเขียนโปรแกรมภาษซีจึงขาดฟังก์ชั่นนี้ไปไม่ได้ โดยขอบเขตของฟังก์ชั่นจะถูกกำหนดด้วยเครื่องหมาย { และ } กล่าวคือ การทำงานของฟังก์ชั่นจะเริ่มต้นที่เครื่องหมาย { และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย } ฟังก์ชั่น main() สามารถเขียนในรูปแบบของ void main(void) ก็ได้ มีความหมายเหมือนกัน คือ หมายความว่า ฟังก์ชั่น main() จะไม่มีอาร์กิวเมนต์ (argument) คือไม่มีการรับค่าใด ๆ เข้ามาประมวลผลภายในฟังก์ชั่น และจะไม่มีการคืนค่าใด ๆ กลับออกไปจากฟังก์ชั่นด้วย



1. ส่วนหัวของโปรแกรม



 

3. ส่วนรายละเอียดของโปรแกรม


เป็นส่วนของการเขียนคำสั่ง เพื่อให้โปรแกรมทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้


คอมเมนต์ในภาษาซี

คอมเมนต์ (comment) คือส่วนที่เป็นหมายเหตุของโปรแกรม มีไว้เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมใส่ข้อความอธิบายกำกับลงไปใน source code ซึ่งคอมไพเลอร์จะข้ามาการแปลผลในส่วนที่เป็นคอมเมนต์นี้ คอมเมนต์ในภาษาซีมี 2 แบบคือ

¨ คอมเมนต์แบบบรรทัดเดียว ใช้เครื่องหมาย //

¨ คอมเมนต์แบบหลายบรรทัด ใช้เครื่องหมาย /* และ */


ตัวอย่าง




วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต


อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต มีอะไรบ้าง
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ 
2. โมเด็ม ( Modem ) 
3. โปรแกรม web browser
4. โทรศัพท์ (Telephone) 
5. ชื่อบัญชีผู้ใช้อินเทอร์เนต (Account)
6. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ

ขั้นตอนในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
1.      การเชื่อมต่อแบบ Dial Up เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ อุปกรณ์มีราคาถูก การติดตั้งง่าย การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย
ข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิต) ต่อวินาที
2.      การเชื่อมต่อแบบ ISDN(Internet Services Digital Network) เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
1.      ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
2.      การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
3.      ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่
ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up
3.      การเชื่อมต่อแบบ DSL(Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
1.      ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
2.      บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
3.      การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ

ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้
4.      ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN 
4.      การเชื่อมต่อแบบ Cable เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1.      ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
2.      ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้
 ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง
5.      การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1.      จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
2.      ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่

  Modern computer technology From the day computer was invented there has been a constant increase in the processing speed of computers, their network capacity and speed of internet. Such advancements have paved the way for revolution in the research fields of artificial intelligence, nanotechnology, and quantum physics. Advancements in the computers will have a reflective effect on our lifestyles and work styles, the virtual reality as seen in MATRIX the movie, may actually come true in forth coming decades.

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

ใบงาน เรื่อง อุปกรณ์เสริมคอมพิวเตอร์(2)

นาย ศุภกร   ต่อโชติ ม.5/3 เลขที่ 7

อุปกรณ์เสริมคอมพิวเตอร์

     สำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไปแล้วนั้น มันสามารถทำงานได้โดยมีส่วนประกอบพื้นฐาน อย่างเช่น คอมพิวเตอร์เคส หน้าจอมอนิเตอร์ เมาส์ คีย์บอร์ด แต่เรายังสามารถต่ออุปกรณ์อื่นๆสำหรับคอมพิวเตอร์เพิ่มลงไปตรงพอร์ตต่างๆได้อีก อุปกรณ์ต่อพ่วงเหล่านี้จะเรียกว่า “Peripherals” ซึ่งอุปกรณ์ต่อพ่วงนั้นก็มีอยู่มากมายหลายชนิดด้วยกัน



                 ปริ้นเตอร์หรือเครื่องพิมพ์  เครื่องพิมพ์นี้มีไว้สำหรับพิมพ์เอกสาร ภาพ หรืออะไรก็ตามที่สามารถสั่งพิมพ์ได้ผ่านทางคอมพิวเตอร์ ปริ้นเตอร์นั้นมีอยู่หลายประเภทหลายรุ่นให้เลือกด้วยกัน เช่น เครื่องพิมพ์หมึก เครื่องพิมพ์เลเซอร์ และเครื่องพิมพ์ภาพถ่าย เรายังสามารถซื้อปริ้นเตอร์แบบครบวงจรได้ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ และเครื่องถ่ายเอกสาร




                สแกนเนอร์  สแกนเนอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราสามารถคัดลอกรูปภาพ เอกสาร และบันทึกมันเข้าสู่คอมพิวเตอร์ของเราในรูปแบบของรูปภาพดิจิตอล สแกนเนอร์รุ่นใหม่นั้นยังสามารถใช้พิมพ์เอกสาร ส่งแฟกซ์ ถ่ายเอกสารได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เรายังสามารถซื้อเอาเฉพาะเครื่องสแกนเนอร์อย่างเดียวก็ได้ 




                ลำโพง/เฮดโฟน  ลำโพงกับเฮดโฟนเป็นอุปกรณ์แบบ ”เอาท์พุท” นั่นหมายความว่ามันเป็นอุปกรณ์ที่คอยส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไปยังผู้ใช้งาน มันทำให้เราสามารถได้ยินเสียงและเพลง ลำโพงและเฮดโฟนมีให้เลือกหลายรูปแบบและสามารถต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย USB หรือ Audio พอร์ตก็ได้ สำหรับในหน้าจอมอนิเตอร์บางรุ่นอาจมีลำโพงติดอยู่ด้วยแล้ว




                ไมโครโฟน – ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงแบบ “อินพุท” หรือก็คือเป็นเครื่องมือที่รับเอาข้อมูลจากผู้ใช้งานเข้าไปสู่คอมพิวเตอร์ เมื่อเราทำการเชื่อมต่อไมโครโฟนเข้ากับคอมพิวเตอร์ เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกเสียงหรือใช้ในการบันทึกการสนทนาในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว คอมพิวเตอร์มักมีไมโครโฟนติดอยู่ภายในอยู่แล้ว




            เว็บ คาเมราหรือเว็บแคม  กล้องเว็บแคมเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว หรือรูปภาพ มันยังสามารถใช้ในการส่งวิดีโอขึ้นไปยังอินเตอร์เน็ตแบบวิดีโอสดได้อีกด้วย ช่วยให้เราสามารถพูดคุยกันแบบเห็นหน้ากับผู้อื่นได้จากทั่วทุกมุมโลก กล้องเว็บแคมถูกใช้ในหลายๆจุดประสงค์ด้วยกัน